วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เรื่องที่ควรรู้สำหรับผู้ใช้รถกระบะ


     ต้องยอมรับว่ารถกระบะเป็นประเภทรถยนต์ที่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทยของเรานะครับ ไม่เพียงเพื่อใช้งานทางด้านพาณิชย์ หรือบรรทุกสิ่งของเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทุกวันนี้รถกระบะยังเป็นรถยนต์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายกิจกรรม เนื่องด้วยรูปลักษณ์การออกแบบทั้งภายใน-ภายนอก และห้องโดยสารที่มีความสะดวกสะบายต่อผู้ใช้งาน พร้อมด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่ตอบสนองกับความต้องการได้หลากหลายรูปแบบการใช้งาน ซึ่งการใช้งานของรถกระบะนั้นอาจจะแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของแต่ละคน

     ดังนั้นแล้วเพื่อยืดอายุการใช้งานของรถกระบะนั้น วิธีการบำรุงรักษาหรือตรวจเช็คสภาพของรถกระบะอย่างสม่ำเสมอนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้รถของท่านมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และวันนี้เราโตโยต้า กรุงไทย ก็มีวิธีง่ายๆที่จะมาแนะนำ เพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนานมากขึ้น ส่วนจะมีอะไรกันบ้างนั้นเราไปดูกันเลยครับ

1.  หมั่นตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง
       การตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง ถือว่าเป็นสิ่งแรกที่ทุกท่านผู้ใช้รถกระบะจำเป็นต้องตรวจก่อนเลยหลังจากการใช้งาน เพราะระดับน้ำมันเครื่องสามารถบ่งบอกได้ว่ารถของท่านควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแล้วหรือยัง ซึ่งวิธีการตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องในรถกระบะของท่านนั้นก็เป็นเรื่องง่ายๆ เลยก็คือ ท่านต้องเตรียมทิชชู่เพื่อเอาไว้เช็ดคราบน้ำมันจากก้านวัดก่อน วิธีปฏิบัติคือ ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องซึ่งจะอยู่บริเวณใกล้กับฝาที่ใส่น้ำมันเครื่อง ให้ท่านทำการเช็ดคราบน้ำมันจากก้านก่อนรอบแรก แล้วเสียบกลับที่เดดิมอีกครั้ง แล้วดึงก้านออกมาดู แล้วให้สังเกตุว่าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระดับไหน ซึ่งก้านวัดจะมีระดับขีดบอกอยู่ คือ max-min หรือขีดล่าง L (Min) ขีดบน F (Max) ถ้าหากระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างทั้งสองขีดนี้แสดงว่าปกติ และหากปริมาณน้ำมันเครื่องสีดำมาก และอยู่ต่ำกว่าขีด L หรือสูงกว่าขีด F มากเกินไป อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้  และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆระยะ 5,000-10,000 กิโลเมตร หรือตามรถยนต์แต่ละรุ่นที่กำหนดไว้ในคู่มือรถ และขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานด้วย

2.  เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะ
       สำหรับข้อนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่ท่านได้ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง (จากข้อ1) ให้พิจารณาว่าสมควรที่จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง โดยให้สังเกตจากสีของน้ำมันเครื่องว่าในขณะนั้นเป็นสีดำมากน้อยแค่ไหน (วิธีเช็คจากข้อ 1) และโดยทั่วไปแล้วระยะของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องใหม่นั้นจะอยู่ที่  5,000-10,000 กิโลเมตร โดยประมาณ ซึ่งการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องนั้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องของการช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ของท่านได้เป็นอย่างดีเลยครับ

3. น้ำยาหล่อเย็น
       น้ำยาหล่อเย็น หรือน้ำยาคูลแลนท์ (Coolant) ที่เหมาะสมต้องออกสีเขียวและปริมาณของน้ำยาต้องอยู่ในระดับกลางๆ ซึ่งต้องไม่อยู่ในระดับต่ำ (Low) ในถังบรรจุน้ำยาหล่อเย็นเกินไป และสีของน้ำยาต้องไม่ออกเป็นสีดำจนเกินไป ซึ่งถ้าตัวน้ำยาหล่อเย็นสีเขียวๆกลายเป็นสีดำเมื่อไหร่ แนะนำให้ท่านนำรถของท่านเข้าที่ศูนย์บริการฯใกล้บ้านท่าน เพื่อให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คอย่างระเอียด เพราะศูนย์บริการมีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานและทันสมัย เพื่อป้องกันและเป็นการถนอมการใช้งานของระบบความเย็นของเครื่องเย็นให้มีอายุการใช้งานให้ยาวนานต่อไป

4. การสลับยางรถยนต์ตามระยะ
       ทำไมถึงต้องสลับยางรถยนต์ตามระยะ ?.. เพราะบางท่านใช้งานรถกระบะก็จะแตกต่างกัน และโดยธรรมชาติแล้ว ยางที่อยู่ล้อหน้านั้นมีโอกาสที่จะสึกหรอก่อนมากกว่ายางหลัง เพราะมาจากการเบรกของรถกระบะส่วนใหญ่ที่มีระบบเบรกอยู่ล้อหน้าเป็นหลักนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อาจขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและการขับขี่ของแต่ล่ะท่านด้วยน่ะครับ ดังนั้นแล้วเพื่อเป็นการถนอมยางให้มีอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น เราควรสลับยางรถยนต์ตามระยะการใช้งาน อย่างเช่น รถของท่านเปลี่ยนยางใหม่ ซ่งมีการใช้งานไปประมาณ 10,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 6 เดือน ท่านก็ควรนำรถของท่านเข้ารับการบริการที่ศูนย์บริการหรืออู่บริการ ใกล้บ้าน

5. พื้นปูกระบะลายเนอร์
       ปกติแล้วพื้นปูกระบะลายเนอร์ เป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามไป ซึ่งแน่นอนส่วนใหญ่รถกระบะก็จะมีพื้นปูกระบะทุกคันอยู่แล้ว และหลายคนก็มองข้ามในเรื่องการดูแลรักษาไปด้วยเช่นกัน เราควรมีการถอดพื้นปูกระบะลายเนอร์ออกมา เพื่อทำความสะอาดตัวกระบะของเราอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากพื้นปูกระบะลายเนอร์นี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ กระบะเราเกิดสนิมได้ เพราะใต้พื้นกระบะลายเนอร์ ไม่ได้รับแสงแดด และมีสิ่งปฎิกูลต่างๆหมักหมมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความชื้นสะสมอยู่เป็นเวลานาน เป็นสาเหตุของการเกิดสนิมกัดกร่อนตัวกระบะเรา เป็นภัยเงียบที่เราไม่ควรมองข้ามนะครับ

ขอขอบคุณบทความ เรื่องที่ควรรู้สำหรับผู้ใช้รถกระบะ จากสาระความรู้ โตโยต้า กรุงไทย

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

อาการรถเหินน้ำ คือ ?


     ช่วงนี้ ฝนตก น้ำขัง หรือพื้นผิวถนนลูกรังที่มีร่องน้ำขัง เคยได้ยินคำว่า “อาการรถเหินน้ำ”  ไหมครับ อาการเหินน้ำมักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยจะมีความรู้สึกขณะขับขี่ก็รู้สึกว่ารถเริ่มจะลอยๆ ทุกครั้งที่ผ่านพื้นที่บริเวณที่มีน้ำขัง

     ไฮโดรเพลน ตามศัพท์ของยานยนต์คือ อาการที่ล้อรถยนต์ลอยจากพื้นถนน (ผิวยางไม่สัมผัสกับพื้นถนนในขณะขับขี่) ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อรถยนต์วิ่งในพื้นที่มีน้ำขังบนถนนหรือข้างทางถนน (แล้วแต่พื้นที่) หรือพื้นที่ที่มีน้ำขังเนื่องจากฝนตก น้ำท่วมรอการระบาย ซึ่งจะทำให้รถเกิดการสูญเสียการทรงตัวและไม่สามารถควบคุมรถได้เมื่อผ่านพื้นที่ในลักษณะแบบนั้น

     สำหรับวิธีฏิบัติหากท่านต้องเจอกับสถานการณ์แบบนี้ คือ ต้องจับพวงมาลัยให้แน่น และควรควบคุมพวงมาลัยด้วย 2 มือ ในขณะที่ขัยรถไม่ควรที่จะขับรถเร็ว แตะเบรคเพื่อชะลอลดความเร็วของรถลง ที่สำคัญ อย่าเหยียบเบรกกระทันหัน เพราะไม่อย่างนั้นรถของท่านอาจเกิดการสะบัดและสูญเสียการควบคุมการทรงตัวได้

ขอขอบคุณบทความจาก : Toyotakrungthai

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ระบบ A-TRC ในรถโตโยต้า คือ...


     ระบบ A-TRC คือ ระบบป้องกันล้อ หมุนฟรีแบบแอคทีฟ ซึ่งระบบถูกพัฒนาเพื่อรองรับการขับในสไตล์ออฟโรดหรือเส้นทางวิบาก โดยการทำงานของระบบนี้ก็คือ เซ็นเซอร์ล้อรถทั้ง 4 ด้านจะตรวจจับการหมุนของทุกล้อ หากพบว่าล้อใดเริ่มสูญเสียแรงขับ เคลื่อนและจะหมุนฟรี ระบบจะส่งแรงเบรกไปสู่ล้อนั้นอย่างฉับไว และกระจาย กำลังของเครื่องยนต์ไปสู่ล้อที่เหลือ เพื่อให้รถมีแรงบิดเต็มกำลัง เท่ากับว่าผู้ขับ จะสามารถใช้กำลังเครื่องยนต์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา โดยปราศจากการสูญเปล่าจากอาการล้อหมุนฟรี นั่นเอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โตโยต้า รามอินทรา ระบบ A-TRC

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การบีบแตร บนถนนบ้านเรามีความหมายว่าอย่างไร


     ช่างที เชื่อว่าหลายๆคน เวลาถูกบีบแตรใส่หรือได้ยินเสียงแตรในระหว่างที่ขับรถอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซต์หรือรถยนต์คงจะเกิดความไม่พอใจอย่างแน่นอน แต่ท่านรู้ไหมครับว่าจริงๆแล้วเสียงแตรนั้นมีความหมายทุกอย่าง ซึ่ง ช่างที จะมาบอกกันว่าการ บีบแตรรถ อย่างไรให้ถูกวิธี และมีมารยาทที่ดีบนท้องถนนด้วย ซึ่งวิธีที่ ช่างที นำมาแนะนำในครั้งเรียกได้ว่าเป็นกฏสากลเลยน่ะครับ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้นต้องมาอ่านกันครับ

- การบีบแตรแบบเบาและเสียงสั้น หมายถึง การทักทายกันบนท้องถนน เช่น “สวัสดียามเช้าอากาศสดใส ฉันกำลังจะไปทำงานแล้วนะ” การบีบแตรในลักษณะนี้ ค่อนข้างจะสุภาพและเป็นมิตร ใช้วิธีการบีบแตรเบาๆและสั้นๆ ผู้รับรู้ก็จะได้รู้สึกสบายหูไปด้วยนั้นเอง

– การบีบแตรแบบเสียงสั้นสองครั้ง หมายถึง การบีบแตรในลักษณะนี้ เพื่อเป็นการเตือนให้อีกฝ่ายทราบถึงตำแหน่งรถของเรา เพื่อระมัดระวังและลดการเกิดอุบัติเหตุด้วยนั่นเอง

– การบีบแตรแบบเสียงดังยาว หมายถึง เป็นการบีบแตรที่ผู้ฟังอาจจะตกใจไม่มากก็เล็กน้อย แต่ข้อดีของมันคือการเร่งอีกฝ่ายให้ตื่นตัว ไม่เหม่อลอย ให้ระมัดระวังว่ากำลังจะเกิดเหตุอันตราย และอาจจะเป็นการช่วยเตือนให้เค้าตื่นจากอาการหลับในได้อีกด้วย

– การบีบแตรแบบเสียงดังยาวซ้ำกันสองครั้ง หมายถึง การแบบแตรแบบนี้ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะผู้ที่ได้ฟังนั้นจะสามารถรับรู้ได้ถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน การบีบแตรยาวๆซ้ำกันนั้นเป็นการเตือนว่ากำลังจะเกิดอุบัติเหตุแบบกะทันหัน ฉุกเฉิน นั้นเอง

     ซึ่งวิธีที่ ช่างที ได้บอกมานั่นเป็นวิธีตามหลักสากลและมารยาทที่เขาใช้กันทั่วโลกน่ะครับ ไม่ใช่ว่า ช่างที จะพูดไปเรื่อยโดยไม่มีหลัก ซึ่งหากท่านใดได้ปฏิบัติตามนี้ ช่างที เชื่อว่าก็จะสามารถลดเหตุที่น่าจะเกิดบนท้องถนนได้ครับ

ขอขอบคุณบทความจาก : โตโยต้า รามอินทรา มา ณ ที่นี่ด้วยครับ

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ทำความรู้จักกับระบบพวงมาลัยรถยนต์


     สวัสดีครับ ช่างที ปรึกษาปัญหารถ ได้นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับรถยนต์มาฝากเช่นเคย อุปกรณ์อีกหนึ่งชนิดที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของรถยนต์ เพราะถ้าไม่มีตัวนี้แล้ว รถของท่านอาจจะไม่สามารถขับเคลื่อนไปไหนก็ได้ แน่นอนซึ่งนั่นก็คือ พวงมาลัยรถยนต์ นั่นเองครับ พวงมาลัยรถยนต์ถือว่าเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในรถยนต์เลยครับ เพราะทำหน้าที่ควบคุมให้รถยนต์ไปตามทิศทางที่กำหนดและยังเป็นอุปกรณ์ที่เราต้องทำความรู้จักมันให้มากๆเลยทีเดียว

    
ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญของระบบพวงมาลัย ได้แก่ พวงมาลัย, ขายึดแกนพวงมาลัย, แกนพวงมาลัย, หน้าแปลนพวงมาลัย, ยางข้อต่อ, กระปุกพวงมาลัย, แขนเกียร์พวงมาลัย, คันชักคันส่งกลาง, คันชักคันส่งข้าง , แขนดึงกลับและกระปุกพวงมาลัย
         
         
แรคแอนด์พีเนียน ซึ่งเจ้าพวงมาลัยชนิดนี้ จุดเด่นก็คือ ต้นทุนไม่แพง เป็นระบบการบังคับเลี้ยวชนิดหนึ่ง แบบสะพานมีเฟือง กับเฟืองหมุนขนาดกะทัดรัด ใช้พื้นที่น้อย แถมยังตอบสนองการขับขี่ไวอีกด้วย

          แบบบอลล์แอนด์นัท พวงมาลับแบบนี้มักจะนิยมใช้ในรถกระบะบางรุ่น อย่างเช่น โตโยต้า อัลติส (Toyota Altis) หรือรถบรรทุกยี่ห้อดังหลายๆเจ้ารถโดยสารขนาดใหญ่ โดยการทำงานของเจ้าพวงมาลัยนี้จะมีชุดวาล์วเพื่อควบคุมทิศทางน้ำมันไฮดรอลิกส์แบบโรตารี่ ควบคุมการทำงานด้วยแรงหมุนพวงมาลัยจากผู้ขับร่วมกับความฝืดของยางรถยนต์กับพื้นถนน ซึ่ีงจะอาศัยการบิดตัวของทอร์ชันบาร์สปริง ข้อดีของขวงมาลัยแบบ แบบบอลล์แอนด์นัท นี้ คือทนมากกว่าแบบ แรคแอนด์พีเนียน ครับ

          พวงมาลัยแบบเพาเวอร์ เป็นพวงมาลัยชนิดสุดท้ายที่ถูกผลิตมาใช้ในท้องตลาดครับ ซึ่งปัจจุบันมีย่อยลงไปอีก 3 แบบ ได้แก่

          1. แบบใช้น้ำมันอย่างเดียว เรียกว่า แบบไฮดรอลิกส์

          2. แบบไฮดรอลิกส์ร่วมกับไฟฟ้า

          3. แบบไฟฟ้าใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าแบบไม่มีน้ำมันเพาเวอร์ สายพานหรือปั๊มเพาเวอร์คอยดึงกำลังจากเครื่องยนต์มาช่วย แต่จะเป็นระบบไฟฟ้าทั้งหมดเข้ามาช่วยในการเลี้ยวและหมุนพวงมาลัยได้สะดวกยิ่งขึ้น ข้อดีของเจ้าพวงมาลัยนี้ทำให้รถประหยัดน้ำมันมากกว่าเดิิม อีกทั้งยังลดภาระเครื่องยนต์ไม่ต้องบำรุงรักษาตามระยะ แต่เมื่อมีปัญหาก็ต้องเสียค่าซ่อมแพงหูฉี่เลยทีเดียว

          เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับ เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพวงมาลัยรถยนต์ ที่ทางทีมงานได้นำมาเสนอ คาดว่าคงจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการขับขี่ ส่งผลไปถึงความปลอดภัยของรถยนต์ พวงมาลัยรถยนต์ ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่รถยนต์หลายค่ายต่อหลายค่าย แข่งขันกันผลิตออกมาให้ใช้งานดีที่สุดและทันสมัยที่สุด เพื่อตอบโจทย์ของการใช้รถยนต์ในยุคนี้มากที่สุดครับ ทั้งนี้ รถยนต์โตโยต้า ของเราก็ให้ความสำคัญกับการผลิตพวงมาลัยรถยนต์ให้ออกมาตอบสนองความต้องการ และได้มาตรฐานความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานมากที่สุดเช่นกัน

ขอขอบคุณบทความจาก : สาระน่ารู้